หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

พลศึกษา


พลศึกษา

พลศึกษา (อังกฤษphysical education) เป็นวิชาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาซึ่งมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้เชิงทักษพิสัย (psychomotor learning)[1]
ในสมัยหลังนี้ มีแนวโน้มว่า พลศึกษาพัฒนาเป็นกิจกรรมหลายรูปแบบมากขึ้น การสอนให้นักเรียนทำกิจกรรมทางพลศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อยช่วยให้นักเรียนมีอุปนิสัยที่ดีต่อการทำกิจกรรมซึ่งจะมีผลสืบเนื่องต่อไปในวัยผู้ใหญ่ด้วย เช่น ครูบางคนสอนเทคนิคที่ช่วยลดความกดดัน เป็นต้นว่า โยคะ และการฝึกหายใจ ที่เป็นประโยชน์ไม่เพียงต่อกิจกรรมพลศึกษา การสอนให้นักเรียนเล่นกีฬาซึ่งมิใช่ของท้องถิ่นนั้นยังช่วยให้นักเรียนมีแรงจูงใจเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ มากขึ้น ทั้งยังช่วยนักเรียนเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย เช่น เมื่อสอนบทเรียนเกี่ยวกับกีฬาลาครอส (lacrosse) นักเรียนจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นเมืองอเมริกันทางแคนาตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดลาครอสด้วย


ประวัติวอลเลย์บอล ข้อมูล กีฬาวอลเลย์บอล


ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ? วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันจ้า ..

ประวัติวอลเลย์บอล

          กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

          โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

          ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

กติกาวอลเลย์บอล

สนามแข่งขัน

          -  จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

          -   เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

          -  แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

          -  เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

          -  เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

          -  จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร

          -  ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม

          -  ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร

ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

ลูกวอลเลย์บอล

          -  เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม

          -  ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้

          -  ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม

ผู้เล่น

          -  ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน

          -  ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน

          -  สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก

          -  การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย

ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล   

วิธีการเล่น

          -  ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา

          -  การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที

          -  ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ

          -  เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น

          -  สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์

          -  สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที

          -  ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง

การคิดคะแนน

          -  ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ

          -  หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น

          -  ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

          และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อรู้จักกีฬาชนิดนี้กันแล้ว ก็อย่าลืมทำความเข้าใจกติกามารยาทในการแข่งขัน และเล่นกีฬากันอย่างมีน้ำใจนักกีฬากันด้วยนะจ๊ะ 
                    ประวัติฟุตบอล
          ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ซูเลอ” (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา “แกลโล-โรมัน” (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเล


พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จนิวัติพระนคร กีฬาฟุตบอลได้รับความสนใจมากขึ้นจากบรรดาข้าราชการบรรดาครูอาจารย์ ตลอดจนชาวอังกฤษในประเทศไทยและผู้สนใจชาวไทยจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ กอร์ปกับครูเทพท่านได้เพียรพยายามปลูกฝังการเล่นฟุตบอลในโรงเรียนอย่างจริงจังและแพร่หลายมากในโอกาสต่อมา
การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกของประเทศไทยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2444 นี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียนชายอายุไม่เกิน 20 ปี ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบน็อกเอาต์ หรือแบบแพ้คัดออก (KNOCKOUT OR ELIMINATIONS) ภายใต้การดำเนินการจัดการแข่งขันของ “กรมศึกษาธิการ” สำหรับทีมชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จะได้รับโล่รางวัลเป็นกรรมสิทธิ์
2. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี
3. เพื่อก่อให้เกิดไหวพริบ และเป็นกีฬาที่ประหยัดดี
4. เพื่อเป็นการศึกษากลยุทธ์ในการรุกและการรับเช่นเดียวกับกองทัพทหารหาญ

ประวัติกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย
          กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ “เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)” หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆว่า “ครูเทพ” ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น “เพลงอมตะ” และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2454-2458 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการครั้งแรก เมื่อท่านได้นำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศไทยได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย โดยหลายคนกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อน เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่า และเป็นเกมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นและผู้ชมได้ง่าย ซึ่งข้อวิจารณ์ดังกล่าวถ้ามองอย่างผิวเผินอาจคล้อยตามได้ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ได้ค่อยหมดไปจนกระทั่งกลายเป็น กีฬายอดนิยมที่สุดของประชาชนชาวไทยและชาวโลกทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีวิวัฒนาการดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้
พ.ศ. 2443 (รศ. 119) การแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของไทยได้เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (รศ. 119) ณ สนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกายและประกอบงานพิธีต่างๆการแข่งขันฟุตบอลคู่ประวัติศาสตร์ของไทย ระหว่าง “ชุดบางกอก” กับ “ชุดกรมศึกษาธิการ” จากกระทรวงธรรมการหรือเรียกชื่อการแข่งขันครั้งนี้ว่า “การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น” เพราะสมัยก่อนเรียกว่า “แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล” (ASSOCIATIONS FOOTBALL) สมัยปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า “การแข่งขันฟุตบอลของสมาคม” หรือ “ฟุตบอลสมาคม” ผลการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษดังกล่าวปรากฏว่า “ชุดกรมศึกษาธิการ” เสมอกับ “ชุดบางกอก” 2-2 (ครึ่งแรก 1-0) ต่อมาครูเทพท่านได้วางแผนการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอย่างเป็นทางการพร้อมแปลกติกาฟุตบอลแบบสากลมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งนี้ด้วย
พ.ศ. 2444 (รศ. 120) หนังสือวิทยาจารย์ เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรื่องกติกาการแข่งขันฟุตบอลสากลและการแข่งขันอย่างเป็นแบบแผนสากล
พ.ศ. 2448 (รศ. 124) เดือนพฤศจิกายน สามัคยาจารย์ สมาคม ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นการแข่งขันฟุตบอลของบรรดาครูและสมาชิกครู โดยใช้ชื่อว่า “ฟุตบอลสามัคยาจารย์”
พ.ศ. 2450-2452 (รศ. 126-128) ผู้ตัดสินฟุตบอลชาวอังชื่อ “มร.อี.เอส.สมิธ” อดีตนักฟุตบอลอาชีพได้มาทำการตัดสินในประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี ทำให้คนไทยโดยเฉพาะครู-อาจารย์ และผู้สนใจได้เรียนรู้กติกาและสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก
พ.ศ. 2451 (รศ. 127) มีการจัดการแข่งขัน “เตะฟุตบอลไกล” ครั้งแรก
พ.ศ. 2452 (รศ. 128) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2452 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยในยุคนั้น ซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน “แบบพบกันหมด” (ROUND ROBIN) แทนวิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออกสำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบของแคนาดา (CANADIAN SYSTEM) คือ ชนะ 2 คะแนน เสมอ 1คะแนน แพ้ 0 คะแนน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างยิ่งถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเอง และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์เองชื่อทีม “เสือป่า” และได้เสด็จพระราช ดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นพระราชกิจวัตรเสมอมา โดยเฉพาะมวยไทยพระองค์ทรงเคย ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า “พระเจ้าเสือป่า” พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก จนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่วไปจนตราบเท่าทุกวันนี้
จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอลนับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริงอีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และบทความต่างๆทางด้านฟุตบอลดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้
พ.ศ. 2457 (รศ. 133) พระยาโอวาทวรกิจ” (แหมผลพันชิน) หรือนามปากกา “ครูทอง” ได้เขียนบทความกีฬา “เรื่องจรรยาของผู้เล่นและผู้ดูฟุตบอล” และ “คุณพระวรเวทย์ พิสิฐ” (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ได้เขียนบทความกีฬา “เรื่องการเล่นฟุตบอล” และ “พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน” (อู๋ พรรธนะแพทย์) ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง “เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล”
พ.ศ. 2458 (รศ. 134) ประชาชนชาวไทยสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก กรมศึกษาธิการได้พัฒนาวิธีการเล่น วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน กติกาฟุตบอลที่สากลยอมรับ ตลอดจนระเบียบการแข่งขันที่รัดกุมยิ่งขึ้น และผู้ใหญ่ในวงการให้ความสนใจอย่างแท้จริงนับตั้งแต่พระองค์รัชกาลที่ 6 เองลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงสามัญชน และชาวต่างชาติ และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรกเป็นการชิงถ้วยพระราชทานและเรียกชื่อการแข่งขันฟุตบอลประเภทนี้ว่า “การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง” การแข่งขันฟุตบอลสโมสรนี้เป็นการแข่งขันระหว่าง ทหาร-ตำรวจ-เสือป่า ซึ่งผู้เล่นจะต้องมีอายุเกินกว่าระดับทีมนักเรียน นับว่าเป็นการเพิ่มประเภทการแข่งขันฟุตบอล
        ราชกรีฑาสโมสร หรือสปอร์ตคลับ นับได้ว่าเป็นสโมสรแรกของไทยและเป็นศูนย์รวมของชาวต่างประเทศในกรุงเทพฯ ซึ่งยังอยู่ในปัจจุบัน และสโมสรสปอร์ตคลับเป็นศูนย์กลางของกีฬาหลายประเภท โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลได้มีผู้เล่นระดับชาติจากประเทศอังกฤษมาเข้าร่วมทีมอยู่หลายคน เช่น มร.เอ.พี.โคลปี. อาจารย์โรงเรียนราชวิทยาลัย นับได้ว่าเป็นทีมฟุตบอลที่ดี มีความพร้อมมากทั้งทางด้านผู้เล่น งบประมาณและสนามแข่งขันมาตรฐาน จึงต้องเป็นเจ้าภาพให้ทีมต่างๆของไทยเรามาเยือนอยู่เสมอ ทำให้วงการฟุตบอลไทยในยุคนั้นได้พัฒนายิ่งขึ้น และรัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยโดยเสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานรางวัลเป็นพระราชกิจวัตร ทำให้ประชาชนเรียกการแข่งขันสมัยนั้นว่า “ฟุตบอลหน้าพระที่นั่ง” และระหว่างพักครึ่งเวลามีการแสดง “พวกฟุตบอลตลกหลวง” นับเป็นพิธีชื่นชอบของปวงชนชาวไทยสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลสโมสรครั้งแรกนี้ มีทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 12 ทีม ใช้เวลาในการแข่งขัน 46 วัน (11 ก.ย.-27 ต.ค. 2458) จำนวน 29 แมตช์ ณ สนามเสือป่า ถนนหน้าพระลาน สวนดุสิต กรุงเทพมหานคร หรือสนามหน้ากองอำนวนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติปัจจุบันพระองค์รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันนับว่าฟุตบอลไทยมีระบบในการบริหารมานานนับถึง 72 ปีแล้ว
        ความเจริญก้าวหน้าของฟุตบอลภายในประเทศได้แผ่ขยายกว้างขวางทั่วประเทศไปสู่สโมสรกีฬา-ต่างจังหวัดหรือชนบทอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปภายใต้การสนับสนุนของรัชกาลที่ 6 และพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นกาลไกลว่าควรที่ตะตั้งศูนย์กลางหรือสมาคมอย่างมีระบบแบบแผนที่ดี โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมและทรงมีพระบรมราชโองการก่อตั้ง “สโมสรคณะฟุตบอลสยาม” ขึ้นมาโดยพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นฟุตบอลเอง
รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามดังนี้คือ
1. เพื่อให้ผู้เล่นฟุตบอลมีพลานามัยที่สมบูรณ์
สนามแข่งขัน
          สนามฟุตบอล ไม่ได้มีการกำหนดขนาดไว้แบบตรง ๆ เนื่องจากในพื้นที่แต่ละสนาม อาจมีพื้นที่ไม่เท่ากัน แต่ได้มีการกำหนดด้านยาว กว้างประมาณ 100-130 หลา ส่วนด้านกว้าง กว้างประมาณ 50-100 หลา โดยแบ่งเขตแดนออกเป็น 2 ฝั่ง อย่างละเท่า ๆ กัน มี ประตูขนาดกว้าง 8 หลา สูง 8 ฟุต มีเขตโทษ ซึ่งนับห่างจากโกล ห่าง 18 หลา ส่วนพื้นสนามฟุตบอล ใช้หญ้าแท้หรือหญ้าเทียมก็ได้

ลูกฟุตบอล
          ลูกฟุตบอลมีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเส้นรอบวงไม่เกิน 27-28 นิ้ว และหนัก 400-450 กรัม

ผู้เล่น
          มีจำนวนฝั่งละ 11 คน โดยที่เป็นผู้รักษาประตู 1 คน มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ฝั่งตรงข้ามยิงประตูได้

วิธีการเล่น
          ผู้เล่นจะใช้เท้าเล่นเป็นหลัก โดยสามารถใช้อวัยวะส่วนอื่นที่ไม่ใช่แขนและมือ ในการเล่นได้ด้วย โดยมีเป้าหมายคือ การทำประตูฝ่ายตรงข้ามให้ได้
ฟุตบอล

กติกา
           เวลาในการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาที โดยทั้ง 2 ฝั่งมีหน้าที่ยิงประตูฝั่งตรงข้ามให้ได้มากกว่า ทั้งนี้ หากเสมอกันในการแข่งขันฟุตบอลรายการแพ้คัดออก จะต่อเวลาเพิ่มอีกครึ่งละ 15 นาที รวม 2 ครึ่ง 30 นาทีด้วยกัน และถ้าหากยังตัดสินผู้ชนะไม่ได้ ก็จะดวลจุดโทษตัดสินฝั่งละ 5 ลูก ซึ่งถ้าหากตัดสินไม่ได้อีก ก็จะยิงทีละ 1 ต่อ 1 คือ หากใครยิงพลาด และอีกฝ่ายยิงได้ ก็เกมจบทันที อย่างไรก็ตาม เมื่อยิงครบ 11 คนแล้วตัดสินผู้ชนะไม่ได้ ก็จะวนกลับมายิงใหม่ที่คนแรก ไปเรื่อย ๆ

           การผิดกติกา ก็มี การที่ไม่ใช่ผู้รักษาประตูแล้วใช้มือเล่น หรือ การพยายามขัดขวางการเล่นของฝั่งตรงข้าม เช่น ชน กระแทก ผู้เล่นที่มีบอล ก็คือว่าเป็นการฟาล์ว และฝ่ายที่ถูกทำฟาล์ว ก็จะได้ลูกตั้งเตะ แต่ถ้าฝ่ายบุกถูกทำฟาล์วในเขตโทษของฝ่ายรับ ก็จะเป็นลูกจุดโทษ ที่ฝ่ายบุกจะได้โอกาสยิงแบบ 1 ต่อ 1 กับผู้รักษาประตูฝ่ายรับ

           กรณีที่ฟุตบอลออกข้าง ฝ่ายที่ไม่ได้ทำให้ออกข้างจะเป็นฝ่ายได้ทุ่ม ส่วนกรณีบอลออกหลัง ถ้าเป็นฝ่ายเจ้าของแดนทำออกหลังเอง ฝ่ายที่เดินหน้าบุก จะได้เตะมุมเข้ามา แต่ถ้าเป็นฝ่ายบุกที่ทำออก จะเป็นลูกตั้งเตะจากประตู

           ใบเหลือง-ใบแดง จะแจกก็ต่อเมื่อมีผู้เล่นที่ทำผิดกติกา ในลักษณะที่รุนแรง หรือ การถ่วงเวลา ผู้ตัดสินก็จะให้ใบเหลืองแก่คนที่ผิดกติกา ส่วนใบแดง ผู้ตัดสินจะให้ก็ต่อเมื่อ มีการทำฟาล์วที่รุนแรงมาก เช่น ทำให้ได้รับบาดเจ็บหนัก หรือ เล่นอันตรายอย่างการเปิดปุ่มสตั๊ดไปที่ขาของฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น นอกจากนี้ การได้ใบแดง จะมีอีกกรณีหนึ่งคือ การทำฟาล์วแบบไม่รุนแรง แต่ฟาล์วขณะที่ฝั่งตรงข้ามกำลังจะทำประตูได้ ก็ได้รับใบแดงเช่นกัน

           การล้ำหน้า คือ การจ่ายบอลไปยังผู้เล่นที่ยืนอยู่สูงกว่าผู้เล่นฝั่งตรงข้ามในลำดับรองสุดท้าย

การคิดคะแนน
          นับจากจำนวนลูกฟุตบอลที่ผ่านเส้นประตูเข้าไปอย่างเต็มใบ ภายในเวลาที่กำหนดในการแข่งขัน (90 นาที)

          และนี่ก็คือกติกาเบื้องต้นที่เข้าใจง่าย ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอล กีฬายอดฮิตของคนไทย ซึ่งคาดว่าจะทำให้ผู้อ่านสามารถดูฟุตบอลได้อย่างเข้าใจง่ายขึ้น

ภาษาไทย

ภาษาไทย

                        ภาษาไทย 

เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

ภาษาไทยสมัยจอมพล ป.[แก้]

ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้
  • ตัดพยัญชนะ ฃ ฅ ฆ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ แล้วใช้ ข ค ค ด ต ถ ท ธ น ส ส ล แทนตามลำดับ
  • พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น ญ
  • พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจากคำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน
  • เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก ก็เปลี่ยนเป็น หยาก
  • เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง ก็เขียนเป็น จิง, ทรง ก็เขียนเป็น ซง
  • ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม
  • เลิกใช้สระใอไม้ม้วน เปลี่ยนเป็นสระไอไม้มลายทั้งหมด
  • เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี
  • ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่นมหัพภาคเมื่อจบประโยค จุลภาคเมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาคเชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น
หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง [1]

หน่วยเสียง[แก้]

ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท[2] คือ
  1. หน่วยเสียงพยัญชนะ
  2. หน่วยเสียงสระ
  3. หน่วยเสียงวรรณยุกต์

พยัญชนะ[แก้]

พยัญชนะต้น[แก้]

ภาษาไทยแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียดแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
  • เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
  • เสียงไม่ก้อง พ่นลม
  • เสียงก้อง ไม่พ่นลม
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง s ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน) อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกหลังปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
ม m
  [n]
ณ,น n
   [ŋ]
ง ng
 
เสียงกัก[p]
ป p
[pʰ]
ผ,พ,ภ ph
[b]
บ b
 [t]
ฏ,ต t
[tʰ]
ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ท,ธ th
[d]
ฎ,ด d
  [k]
ก k
[kʰ]
ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ* kh
 [ʔ]
อ** -
เสียงเสียดแทรก [f]
ฝ,ฟ f
[s]
ซ,ศ,ษ,ส s
    [h]
ห,ฮ h
เสียงผสมเสียดแทรก   [t͡ɕ]
จ c(h)
[t͡ɕʰ]
ฉ,ช,ฌ ch
   
เสียงรัว   [r]
ร r
    
เสียงเปิด [w]
ว w
   [j]
ญ,ย y
  
เสียงเปิดข้างลิ้น   [l]
ล,ฬ l
    
* ฃ และ ฅ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร
** อ ที่เป็นพยัญชนะต้นหมายถึงเสียงเงียบ และดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นเสียงกัก เส้นเสียง

พยัญชนะสะกด[แก้]

ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป
ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก ฃ และ ฅ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ ดังนั้นมันจึงเหลือเพียง 36 ตัวตามตาราง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกหลังปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
ม m
  [n]
ญ,ณ,น,ร,ล,ฬ n
   [ŋ]
ง ng
 
เสียงกัก[p̚]
บ,ป,พ,ฟ,ภ p
  [t̚]
จ,ช,ซ,ฌ,ฎ,ฏ,ฐ,ฑ,ฒ,
ด,ต,ถ,ท,ธ,ศ,ษ,ส t
   [k̚]
ก,ข,ค,ฆ k
 [ʔ]
* -
เสียงเปิด [w]
ว o(w)
   [j]
ย i(y)
  
* เสียงกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

กลุ่มพยัญชนะ[แก้]

แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกดอาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกันจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย
ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ
  • /kr/ (กร), /kl/ (กล), /kw/ (กว)
  • /kʰr/ (ขร,คร), /kʰl/ (ขล,คล), /kʰw/ (ขว,คว)
  • /pr/ (ปร), /pl/ (ปล)
  • /pʰr/ (พร), /pʰl/ (ผล,พล)
  • /tr/ (ตร)
พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากคำยืมภาษาต่างประเทศ อาทิ อินทรา จากภาษาสันสกฤต พบว่าใช้ /tʰr/ (ทร), ฟรี จากภาษาอังกฤษ พบว่าใช้ /fr/ (ฟร) เป็นต้น เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก

สระ[แก้]

เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)
สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ลิ้นส่วนหน้าลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียดปากเหยียดปากห่อ
สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
ลิ้นยกสูง/i/
–ิ i
/iː/
–ี i
/ɯ/
–ึ ue
/ɯː/
–ื ue
/u/
–ุ u
/uː/
–ู u
ลิ้นกึ่งสูง/e/
เ–ะ e
/eː/
เ– e
/ɤ/
เ–อะ oe
/ɤː/
เ–อ oe
/o/
โ–ะ o
/oː/
โ– o
ลิ้นกึ่งต่ำ/ɛ/
แ–ะ ae
/ɛː/
แ– ae
  /ɔ/
เ–าะ o
/ɔː/
–อ o
ลิ้นลดต่ำ  /a/
–ะ a
/aː/
–า a
  
สระเดี่ยว
สระเดี่ยว
สระประสม
สระประสม
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
  • เ–ีย /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา ia
  • เ–ือ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา uea
  • –ัว /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา ua
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
สระเสียงสั้นสระเสียงยาวสระเกิน
ไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกด
–ะ–ั–¹–า–า––ำ(ไม่มี)
–ิ–ิ––ี–ี–ใ–(ไม่มี)
–ึ–ึ––ือ–ื–ไ–ไ––⁵
–ุ–ุ––ู–ู–เ–า(ไม่มี)
เ–ะเ–็–เ–เ––ฤ, –ฤฤ–, –ฤ–
แ–ะแ–็–แ–แ––ฤๅ(ไม่มี)
โ–ะ––โ–โ––ฦ, –ฦฦ–, –ฦ–
เ–าะ–็อ––อ–อ–²ฦๅ(ไม่มี)
–ัวะ(ไม่มี)–ัว–ว–
เ–ียะ(ไม่มี)เ–ียเ–ีย–
เ–ือะ(ไม่มี)เ–ือเ–ือ–
เ–อะ(ไม่มี)เ–อเ–ิ–³, เ–อ–⁴
สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
  • –ำ /am, aːm/ am ประสมจาก อะ + ม (อัม)เช่น ขำ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม)เช่น น้ำ
  • ใ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย)เช่น ใจ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)เช่น ใต้
  • ไ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย)เช่น ไหม้ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)เช่น ไม้
  • เ–า /aw, aːw/ ao ประสมจาก อะ + ว (เอา)เช่น เกา บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว)เช่น เก้า
  • ฤ /rɯ/ rue,ri,roe ประสมจาก ร + อึ (รึ)เช่น ฤกษ์ บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ)เช่น กฤษณะ หรือ /rɤː/ (เรอ)เช่นฤกษ์
  • ฤๅ /rɯː/ rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
  • ฦ /lɯ/ lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
  • ฦๅ /lɯː/ lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา
¹ คำที่สะกดด้วย –ะ + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
² คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
³ คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– ดังนั้นคำที่สะกดด้วย เ– + ย จึงไม่มี
⁴ พบได้น้อยคำเท่านั้นเช่น เทอญ เทอม
⁵ มีพยัญชนะสะกดเป็น ย เท่านั้น เช่น ไทย ไชย

วรรณยุกต์[แก้]

เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่างหน่วยเสียงสัทอักษร
เสียงสามัญ (ระดับเสียงกลาง)นา/nāː/[naː˧]
เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียว)หน่า/nàː/[naː˨˩] หรือ [naː˩]
เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)น่า/หน้า/nâː/[naː˥˩]
เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียว)น้า/náː/[naː˦˥] หรือ [naː˥]
เสียงจัตวา (ระดับเสียงต่ำ-กึ่งสูง)หนา/nǎː/[naː˩˩˦] หรือ [naː˩˦]
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น

ไวยากรณ์[แก้]

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'

การยืมคำจากภาษาอื่น[แก้]

ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่นๆค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
  • ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไต ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
  • อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทธิ (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน
= คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไต แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  • วชิระ (บาลี:วชิระ [vajira]), วัชระ (สันส:วัชร [vajra])
  • ศัพท์ (สันส:ศัพทะ [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี:สัททะ [sadda])
  • อัคนี และ อัคคี (สันส:อัคนิ [agni] บาลี:อัคคิ [aggi])
  • โลก (โลก) - (บาลี-สันส:โลกะ [loka])
  • ญาติ (ยาด) - (บาลี:ญาติ (ยา-ติ) [ñāti])
เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
  • เพียร (มาจาก พิริยะ และมาจาก วิริยะ อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรยะ [vīrya], บาลี:วิริยะ [viriya])
  • พฤกษา (สันส:วฤกษะ [vṛkṣa])
  • พัสดุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ))
เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
  • เทวดา (บาลี:เทวะตา [devatā])
  • วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ))
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
  • บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพพ))