ภาษาไทย
ภาษาไทย
เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย
ภาษาไทยสมัยจอมพล ป.[แก้]
ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้
- ตัดพยัญชนะ ฃ ฅ ฆ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ แล้วใช้ ข ค ค ด ต ถ ท ธ น ส ส ล แทนตามลำดับ
- พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น
- พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจากคำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน
- เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก ก็เปลี่ยนเป็น หยาก
- เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง ก็เขียนเป็น จิง, ทรง ก็เขียนเป็น ซง
- ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม
- เลิกใช้สระใอไม้ม้วน เปลี่ยนเป็นสระไอไม้มลายทั้งหมด
- เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี
- ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่นมหัพภาคเมื่อจบประโยค จุลภาคเมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาคเชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น
หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง [1]
หน่วยเสียง[แก้]
ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท[2] คือ
- หน่วยเสียงพยัญชนะ
- หน่วยเสียงสระ
- หน่วยเสียงวรรณยุกต์
พยัญชนะ[แก้]
พยัญชนะต้น[แก้]
ภาษาไทยแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียดแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
- เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
- เสียงไม่ก้อง พ่นลม
- เสียงก้อง ไม่พ่นลม
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง s ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน) อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ริมฝีปาก ทั้งสอง | ริมฝีปากล่าง -ฟันบน | ปุ่มเหงือก | หลังปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | [m] ม m | [n] ณ,น n | [ŋ] ง ng | ||||||||||||
เสียงกัก | [p] ป p | [pʰ] ผ,พ,ภ ph | [b] บ b | [t] ฏ,ต t | [tʰ] ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ท,ธ th | [d] ฎ,ด d | [k] ก k | [kʰ] ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ* kh | [ʔ] อ** - | ||||||
เสียงเสียดแทรก | [f] ฝ,ฟ f | [s] ซ,ศ,ษ,ส s | [h] ห,ฮ h | ||||||||||||
เสียงผสมเสียดแทรก | [t͡ɕ] จ c(h) | [t͡ɕʰ] ฉ,ช,ฌ ch | |||||||||||||
เสียงรัว | [r] ร r | ||||||||||||||
เสียงเปิด | [w] ว w | [j] ญ,ย y | |||||||||||||
เสียงเปิดข้างลิ้น | [l] ล,ฬ l |
- * ฃ และ ฅ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร
- ** อ ที่เป็นพยัญชนะต้นหมายถึงเสียงเงียบ และดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นเสียงกัก เส้นเสียง
พยัญชนะสะกด[แก้]
ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป
ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก ฃ และ ฅ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ ดังนั้นมันจึงเหลือเพียง 36 ตัวตามตาราง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ริมฝีปาก ทั้งสอง | ริมฝีปากล่าง -ฟันบน | ปุ่มเหงือก | หลังปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | [m] ม m | [n] ญ,ณ,น,ร,ล,ฬ n | [ŋ] ง ng | |||||||
เสียงกัก | [p̚] บ,ป,พ,ฟ,ภ p | [t̚] จ,ช,ซ,ฌ,ฎ,ฏ,ฐ,ฑ,ฒ, ด,ต,ถ,ท,ธ,ศ,ษ,ส t | [k̚] ก,ข,ค,ฆ k | [ʔ] * - | ||||||
เสียงเปิด | [w] ว o(w) | [j] ย i(y) |
- * เสียงกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด
กลุ่มพยัญชนะ[แก้]
แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกดอาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกันจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย
ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ
- /kr/ (กร), /kl/ (กล), /kw/ (กว)
- /kʰr/ (ขร,คร), /kʰl/ (ขล,คล), /kʰw/ (ขว,คว)
- /pr/ (ปร), /pl/ (ปล)
- /pʰr/ (พร), /pʰl/ (ผล,พล)
- /tr/ (ตร)
พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากคำยืมภาษาต่างประเทศ อาทิ อินทรา จากภาษาสันสกฤต พบว่าใช้ /tʰr/ (ทร), ฟรี จากภาษาอังกฤษ พบว่าใช้ /fr/ (ฟร) เป็นต้น เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก
สระ[แก้]
เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)
สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
- เ–ีย /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา ia
- เ–ือ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา uea
- –ัว /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา ua
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
สระเสียงสั้น | สระเสียงยาว | สระเกิน | |||
---|---|---|---|---|---|
ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด | ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด | ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด |
–ะ | –ั–¹ | –า | –า– | –ำ | (ไม่มี) |
–ิ | –ิ– | –ี | –ี– | ใ– | (ไม่มี) |
–ึ | –ึ– | –ือ | –ื– | ไ– | ไ––⁵ |
–ุ | –ุ– | –ู | –ู– | เ–า | (ไม่มี) |
เ–ะ | เ–็– | เ– | เ–– | ฤ, –ฤ | ฤ–, –ฤ– |
แ–ะ | แ–็– | แ– | แ–– | ฤๅ | (ไม่มี) |
โ–ะ | –– | โ– | โ–– | ฦ, –ฦ | ฦ–, –ฦ– |
เ–าะ | –็อ– | –อ | –อ–² | ฦๅ | (ไม่มี) |
–ัวะ | (ไม่มี) | –ัว | –ว– | ||
เ–ียะ | (ไม่มี) | เ–ีย | เ–ีย– | ||
เ–ือะ | (ไม่มี) | เ–ือ | เ–ือ– | ||
เ–อะ | (ไม่มี) | เ–อ | เ–ิ–³, เ–อ–⁴ |
สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
- –ำ /am, aːm/ am ประสมจาก อะ + ม (อัม)เช่น ขำ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม)เช่น น้ำ
- ใ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย)เช่น ใจ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)เช่น ใต้
- ไ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย)เช่น ไหม้ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)เช่น ไม้
- เ–า /aw, aːw/ ao ประสมจาก อะ + ว (เอา)เช่น เกา บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว)เช่น เก้า
- ฤ /rɯ/ rue,ri,roe ประสมจาก ร + อึ (รึ)เช่น ฤกษ์ บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ)เช่น กฤษณะ หรือ /rɤː/ (เรอ)เช่นฤกษ์
- ฤๅ /rɯː/ rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
- ฦ /lɯ/ lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
- ฦๅ /lɯː/ lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา
- ¹ คำที่สะกดด้วย –ะ + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
- ² คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
- ³ คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– ดังนั้นคำที่สะกดด้วย เ– + ย จึงไม่มี
- ⁴ พบได้น้อยคำเท่านั้นเช่น เทอญ เทอม
- ⁵ มีพยัญชนะสะกดเป็น ย เท่านั้น เช่น ไทย ไชย
วรรณยุกต์[แก้]
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงวรรณยุกต์ | ตัวอย่าง | หน่วยเสียง | สัทอักษร |
---|---|---|---|
เสียงสามัญ (ระดับเสียงกลาง) | นา | /nāː/ | [naː˧] |
เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียว) | หน่า | /nàː/ | [naː˨˩] หรือ [naː˩] |
เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ) | น่า/หน้า | /nâː/ | [naː˥˩] |
เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียว) | น้า | /náː/ | [naː˦˥] หรือ [naː˥] |
เสียงจัตวา (ระดับเสียงต่ำ-กึ่งสูง) | หนา | /nǎː/ | [naː˩˩˦] หรือ [naː˩˦] |
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
ไวยากรณ์[แก้]
ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'
การยืมคำจากภาษาอื่น[แก้]
ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่นๆค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
- ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไต ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
- อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทธิ (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน
= คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไต แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
- รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
- วชิระ (บาลี:วชิระ [vajira]), วัชระ (สันส:วัชร [vajra])
- ศัพท์ (สันส:ศัพทะ [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี:สัททะ [sadda])
- อัคนี และ อัคคี (สันส:อัคนิ [agni] บาลี:อัคคิ [aggi])
- โลก (โลก) - (บาลี-สันส:โลกะ [loka])
- ญาติ (ยาด) - (บาลี:ญาติ (ยา-ติ) [ñāti])
- เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
- เพียร (มาจาก พิริยะ และมาจาก วิริยะ อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรยะ [vīrya], บาลี:วิริยะ [viriya])
- พฤกษา (สันส:วฤกษะ [vṛkṣa])
- พัสดุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ))
- เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
- หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
- เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
- หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
- เทวดา (บาลี:เทวะตา [devatā])
- วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ))
- กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
- เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
- กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
- บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพพ))
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น